โรคเก๊าท์ (Gout) คือโรคที่อยู่จัดอยู่ในกลุ่มของโรคปวดข้อ ข้ออักเสบซึ่งเกี่ยวพันกับกรดยูริคในกระแสเลือด โรคชนิดนี้จะพบได้มากเป็นพิเศษในผู้ชายซึ่งจะมากกว่าผู้หญิงเกือบ 10 เท่าเนื่องจากผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยขับกรดยูริคออกจากร่างกาย และโรคเก๊าท์นี้จัดว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคชราภาพหรือโรคที่เกิดจากร่างกายเสื่อมสภาพลง และประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลงไป ซึ่งประสิทธิภาพที่ว่านี้คือกระบวนการการขับกรดยูริคออกจากร่างกายทำงานได้แย่ลงทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคตามข้อ ส่งผลให้เกิดอาการปวดบวมแดงอักเสบการบริเวณข้อต่อ ซึ่งเป็นอาการของโรคเก๊าท์นั่นเอง
สาเหตุและอาการของโรคเก๊าท์
การมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน
รับประทานอาหารที่มีพิวรีน (purine) สูง เช่น เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล เนื่องจากพิวรีนสามารถเปลี่ยนเป็นกรดยูริกได้ภายในร่างกาย
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
ยาบางชนิดที่อาจเพิ่มระดับของกรดยูริก เช่น แอสไพริน (aspirin) ไนอาซิน (niacin) หรือการใช้ยา-ขับปัสสาวะ (diuretics)
ความเจ็บป่วยหรือสภาวะทางการแพทย์บางประการ เช่น การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว หรือโรคความดันโลหิตสูง
โรคเก๊าท์เกิดจาก ร่างกายมีกรดยูริคในเลือดสูงกว่าปกติ และมีการสะสมกรดยูริคเป็นระยะเวลาที่ยาวนานหลายปี จึงทำให้กรดยูริคตกตะกอน สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถ้าสะสมมากที่ข้อต่อ ก็จะเกิดอาการข้อต่ออักเสบ และปวดแดงร้อนบริเวณข้อต่อ,
ถ้ากรดยูริคสะสมอยู่ตามผิวหนังมาก จะส่งผลให้เกิดปุ่มนูนบนขึ้นตามผิวหนัง, ถ้ากรดยูริคสะสมที่ไตมาก ก็จะเกิดเป็นโรคนิ่วในใตและเกิดอาการใตเสื่อม
กรดยูริก คืออะไร?
กรดยูริก ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ร่างกายจะสร้างขึ้นเองจากการย่อยสลายของเซลล์ และสามารถขับกรดยูริกผ่านทางไต และขับออกทางปัสสาวะได้เอง
และอีก 20 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ เกิดจากการที่เรารับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูงมากจนเกินไป ซึ่งสารพิวรีนจะพบในสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ พืชผักบางชนิด และอาหารทะเลบางอย่าง
แต่ถ้าร่างกายไม่สามารถขับกรดยูริกออกมาได้หมด ร่างกายก็จะเกิดการสะสมกรดยูริก โดยเฉพาะบริเวณข้อและกระดูก ผนังหลอดเลือด และไต ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคเก๊าท์
อาการของโรคเก๊า
- ในระยะแรก จะมีอาการปวดแดงร้อนเฉียบพลัน ใน 24 ชั่วโมงแรก จะปวดมากที่สุด
- ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า อยู่ดีๆก็ปวดขึ้นมาเลย โดยเฉพาะที่นิ้วโป้งเท้า และตรงข้อเท้า และเข่า
- หลังจาก 24 ชั่วโมงผ่านไปอาการตจะเริ่มดีขึ้น และจะหายสนิทภายใน 5-7 วัน
- ในระยะแรกจะมีอาการอักเสบแค่บริเวณเดียว หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้โรคค่อยๆ ลามไปจุดอื่นทั่วร่างกาย จะมีอาการปวดและบวมนานขึ้น และรุนแรงขึ้น
การรักษาโรคเก๊าในระยะแรก
- ในระยะแรกที่มีอาการเฉียบพลัน คือ ปวด บวมแดง ร้อน จะใช้ยาแก้ปวดเพื่อลดอาการ ดูแลตัวเองและป้องกันไม่ให้เกิดอาการซ้ำอีก โดยการงดเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทานอาหารที่มีพิวรีนให้น้อยลง
- การดื่มน้ำเยอะๆ สามารถช่วยขับกรดยูริกออกมาทางปัสสาวะได้ หรือการดื่มนมสดก็ช่วยลดกรดยูริกได้เหมือนกัน แต่ถ้ากินยาแก้ปวดและดูแลตัวเองแล้ว ยังมีอาการกำเริบบ่อยกว่า 2-3 ครั้งต่อปี จะต้องใช้ยาลดกรดยูริกช่วย
3. การรักษาโรคเก๊าต์แบบไม่ใช้ยา ทำได้โดยการควบคุมอาหาร สามารถช่วยลดอาการปวดได้ แต่การควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอสำหรับการรักษาโรคเก๊าต์ให้หายขาดได้
การรักษาโรคเก๊าให้หายขาด
- การกินยาเพื่อควบคุมระดับกรดยูริกไม่ให้สูง
- ทานยาต้านอักเสบโรคเก๊าท์ ชื่อยา โคลชิซิน ( Colchicine ) ยานี้จะใช้รักษาโรคเก๊าท์เท่านั้น ไม่สามารถใช้กับอาการปวดเข่าหรือปอดข้อที่เกิดจากสาเหตุอื่นได้
- ผู้ป่วยต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอ และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
- ควบคุมการรับประทานอาหารที่พิวรีนไม่สูง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังจะทำให้มีเหงื่อออก ซึ่งจะช่วยขับสารยูริกออกมาทางเหงื่อได้ ทำให้กรดยูริกลดลงและสามารถควบคุมสารยูริกได้เป็นอย่างดี
- ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 5-10 ปี เป็นอย่างน้อย
โรคเก๊าท์เป็นได้ทุกวัย
โรคเก๊าต์สามารถพบได้ตั้งแต่เด็ก แต่ส่วนใหญ่จะพบในเพศชายอายุ 30-40 ปีขึ้นไป เพราะโรคเก๊าท์จะต้องใช้เวลาในการสะสมกรดยูริกนานเป็น 10 ปี กว่าจะแสดงอาการ
และสาเหตุที่ผู้ชายเป็นโรคเก๊าท์มากกว่าผู้หญิงถึง 10 เท่า อาจเป็นเพราะผู้ชายดื่มแอลกอฮอร์มากกว่าผู้หญิง
อันตรายของโรคเก๊าท์
ไม่ถึงกับเป็นอัมพาต แต่เปรียบเสมือนเป็นอัมพาต เพราะปวดข้อมากตลอดเวลา ต้องนอนอยู่บนเตียงตลอด เดินไม่ได้หรือเดินไม่ใหว ในบางรายอาจมีอาการไตวายด้วย เพราะมีการสะสมของกรดยูริกที่ไต
หรือการที่ผู้ป่วยปวดข้อมากๆ แล้วซื้อยาแก้ปวดมาทานเอง การทานยาแก้ปวดนานๆ ในการรักษาอาการปวดข้อ โดยไม่ขจัดต้นตอของโรค ก็จะทำให้ไตวายได้
แล้วจะรักษาโรคเก๊าท์แบบใหนดี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น